เกาะกระแสด้วย “มีมมาร์เก็ตติ้ง”

Share This Post

บทความโดย บุญญพิลาส บุญรักษ์, Assistant Strategist, มีเดียเอเยนซี่ UM ในเครือ IPG Mediabrands

สมัยนี้หากอยากจะให้สินค้าที่เราอยากโปรโมท ติดตาติดหูลูกค้าได้นาน ๆ ต้องรีบต้องตามให้ทันกระแส เพราะด้วยเทคโนโลยี และกระแสสังคมออนไลน์ไปได้เร็วกว่าที่เราคิด บางทีแค่เพียงสัปดาห์หรือเดือนเดียวก็มีข่าวใหม่ ๆ  มากลบกระแสกันไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น กราบรถกู ดังเปรี้ยงอยู่เพียงเดือนเดียว ตอนนี้ก็ถูกกระแสครูฝึกทหารกับนักพูดสาวตามกลบไปซะแล้ว แล้วก็จะอาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลาเหมือนอย่างเช่นข่าวดีเจเก่งเกียร์อาร์กับวลีฮิต “คนแบบนี้สังคมแบบนี้อยู่ยากครับ” ที่บางคนก็อาจจะลืมไปแล้ว

ดังนั้นหากมีกระแสที่กำลังเป็นที่นิยมในทางใดก็ตาม แล้วเรามีฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าทางด้านสื่อออนไลน์ เราก็อยากจะให้สินค้าของเราเป็นที่น่าสนใจ มีคนเห็นเยอะๆ มีการพูดถึงสินค้าของเราเร็วที่สุด วิธีที่นิยมในทางออนไลน์เราเรียกกันว่า มีมมาร์เก็ตติ้ง (มีม mime ในภาษาอังกฤษ คือ แสดงล้อเลียนหรือนักแสดงล้อเลียน ตัวตลก) ซึ่งมีมทางโลกออนไลน์ คือ การกระทำหรือคำพูดที่คนคนหนึ่งกระทำขึ้นมา แล้วเกิดการเลียนแบบ และได้ถูกเผยแพร่ผ่านไปทางสื่อออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊คหรือไลน์อย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ให้ทุกคนได้แชร์ได้พูดถึง

ตัวอย่างล่าสุดก็คือ การทำมีมมาร์เก็ตติ้งผ่านสื่อออนไลน์ของค่ายรถมินิคูเปอร์ที่ได้ออกมา   โพสต์รูปรถพร้อมแนบข้อความว่า “เราไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ต้องกราบเราน้าาา” สร้างกระแสการแชร์ต่อหรือการพูดถึงได้อย่างดี หรือจะเป็นสายครีเอทีฟที่เกาะกระแสด้วยการทำโฆษณาชิ้นใหม่ให้กับมินิตัวนี้ด้วยภาพโฆษณารถยนต์ที่มาพร้อมระบบเบาะรองกราบรอบรถพร้อมข้อความที่ว่า “อีกขั้นของความศักดิ์สิทธ์เหนือระดับ กับระบบเบาะรองกราบรอบคัน 360 องศา ปรับระดับได้ 37,500 แรงตบ รองรับความหน้าสั่นได้ 5.5 ริกเตอร์ รอให้คุณเป็นเจ้าของแล้ว จองเลย!”

จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงพอที่จะนำมาเป็นไอเดียในการสร้างกระแสโปรโมทสินค้าให้เกาะไปกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสร้างความความรู้สึกเป็นกันเองเข้าถึงได้ง่าย และภาพลักษณ์ดูทันเหตุการณ์สนุกสนาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการพูดถึงแบรนด์สินค้าหรือตัวผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่น่าสนใจ  แถมทั้งยังอินเทรนด์ แต่การที่จะนำมาประยุกต์ใช้นั้น มีสิ่งที่ต้องพึงระวัง คือ กระแสสังคมที่เป็นเรื่องอ่อนไหวหรือมีการเลือกข้าง มีความเสี่ยงที่จะกระทบชื่อเสียงของแบรนด์ จึงอาจไม่เหมาะกับแบรนด์สินค้าที่กำลังสร้างภาพลักษณ์ของความน่าเชื่อถือ และต้องระวังว่าเราไม่ควรซ้ำเติมต่อผู้ที่เสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ดังนั้นหากแบรนด์อยากจะเกาะกระแสก็ควรจะต้องศึกษาให้ดี และมีคุณค่าเพียงพอ มิฉะนั้นความสนุกอาจปนมากับความทุกข์ในภายหลังก็เป็นได้

 

image_2222

spot_img

Related Posts

รีไพร์ส ประเทศไทย ผลักดันความแข็งแกร่งการศึกษาไทยด้าน Digital Marketing

ล่าสุด คุณศุภฤกษ์ ตั้งเจริญศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รีไพร์ส ประเทศไทย (Reprise Thailand)...

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป พร้อมกลยุทธ์เข้าถึงใจ GEN Y ในวันนี้

  ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในช่วง GEN Y (พ.ศ. 2523 – 2543) โดยอายุอยู่ที่ประมาณ 25...

UM Thailand ต่อยอดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ‘UM Impact Day’ ปีที่ 6

กรุงเทพฯ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 –  UM Thailand ล่าสุดจัดกิจกรรมด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมประจำปีผ่านการรวบรวมขยะพลาสติกมาสร้างประโยชน์เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่สำนักงานพร้อมบริจาคทุนสนับสนุน บนความร่วมมือกับ Precious...

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ชี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนในไทย กลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามอง

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ล่าสุดจัดงานสัมมนา Initiative Thought Leadership 2023 ในหัวข้อ “Growth Beyond Thai Audience” อัพเดทกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไทยที่น่าจับตามอง...

เตือนภัย! เรื่องแอบอ้างชื่อบริษัท

สืบเนื่องจากการแอบอ้างผ่านช่องทางออนไลน์อ้างอิงเกี่ยวกับ บริษัท โอไรอ้อน เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีบัญชีผู้ใช้ Tiktok ได้แอบอ้างชื่อหรือข้อมูลของบริษัทฯ...
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.