(Thailand) ใช้โซเชียลมีเดียให้กระแทกใจกลุ่มเป้าหมาย บทเรียนแห่งความสำเร็จ ด้วยกลยุทธ์ “Cultural Velocity” แทรกซึมถึงวัฒนธรรม และวิถีชิวิตของผู้บริโภค

Share This Post

ทุกวันนี้โลกหมุนอย่างรวดเร็ว แต่ละวันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารจากสื่อกระแสหลักและโซเชียล มีเดีย ด้วยข้อมูลข่าวสารปริมาณมหาศาล ผู้บริโภคบางส่วนจึงต้องปรับพฤติกรรมในการเสพข้อมูล โดยเลือกเสพข้อมูลที่ตนเองสนใจ หรือเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับตัวเองเท่านั้น ดังนั้นในปัจจุบันโรคกลัวการตกกระแส (FOMO) หรือ Fear of Missing Out ของผู้บริโภคที่มาแรงเมื่อ 4-5 ที่ผ่านมา จึงถูกปรากฎการณ์ที่เรียกว่า JOMO หรือ Joy of Missing Out ตีคู่ขึ้นมาอย่างสูสี JOMO เป็นความรู้สึกยินดีหรือสบายใจที่จะไม่ต้องสนใจหรือวิ่งตามให้ทันข้อมูล และไม่รู้สึกเป็นทุกข์ในการที่จะตกเทรนด์อะไรสักอย่างหนึ่ง ส่งผลให้ใช้เวลาเข้าโซเชียลมีเดียน้อยลง JOMO เป็นพฤติกรรมของผู้เสพ โซเชียล มีเดีย พบได้ชัดในกลุ่มที่อายุน้อย และเริ่มเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน

 

พฤติกรรมที่มาเร็วไปเร็วของผู้บริโภค อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ Organic Reach หรือ Engagement ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้นักการตลาดหรือแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์อย่างเร่งด่วน คำถามคือทำอย่างไรให้การสื่อสารผ่านช่องทางโซเชียล มีเดียกระแทกใจผู้บริโภค?

 

ในวันนี้ Initiative (อินิชิเอทีฟ) มีเดีย เอเจนซี่ ชั้นนำของโลกและของไทยในเครือ IPG Mediabrands (ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส) ขอนำเสนอกลยุทธ์ต่างๆ ภายใต้ “Cultural Velocity” หรือการสื่อสารโดยแทรกซึมเข้าไปยังวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้บริโภค ผ่านช่องทางโซเชียล มีเดีย โดยมีกรณีศึกษา ที่พิสูจน์ด้วยความสำเร็จดังนี้

 

กรณีศึกษา การใช้กลยุทธ์ภายใต้ Cultural Velocity” ผ่านโซเชียล มีเดีย สื่อสารให้กระแทกใจผู้บริโภค

  1. #Saveubon

 

 

 

#Saveubon เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนกลยุทธ์ CULTURAL AGITATORS – ปลุก/เร้าอารมณ์ด้วยประเด็นร้อนทางสังคมอย่างชัดเจน เริ่มจากโพสต์ของคนในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ที่เดือดร้อนจากเหตุการณ์วิกฤตน้ำล้อมเมืองอุบลราชธานี 15 อำเภอในช่วงเดือนกันยายน ปี 2562 ที่ผ่านมา ประชาชนต้องได้รับความช่วยเหลือจากเหตุการณ์อุทกภัยอย่างเร่งด่วน

 

จากเหตุการณ์นั้นเราได้เห็นบทบาทของโซเชียลมีเดียในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Corporate Social Responsibility แบบชัดเจน และเกิดการกระทำที่เป็นรูปธรรม ปรากฎการณ์การส่งต่อเรื่องราวและแชร์ในโซเชียลด้วยแฮชแท็ก #Saveubon กระจายออกมาสู่กลุ่ม KOL หรือ influencer ที่มีคนติดตามจำนวนมาก เพื่อเป็นกระบอกเสียงถึงหน่วยงานต่างๆ ในการขอความช่วยเหลือ จนกระทั่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ของเมืองไทยในวันที่ 12 กันยายน 2562 จากนั้น สื่อกระแสหลักจึงเริ่มให้ความสนใจ ติดตามข่าว รวมถึงมีการส่งความช่วยเหลือเข้าสู่พื้นที่ประสบภัย นอกจากนี้ #Saveubon ยังคงเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น การให้ความช่วยเหลือจากภาคประชาชน และการสื่อสารจากเอกชนรวมถึงหน่วยงานรายการ ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลและต่อยอดพัฒนาเป็นเว็บแอปพลิเคชันเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของข้อมูลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีอีกด้วย

 

การลงพื้นที่โดย “ขวัญใจ” ของคนทั้งประเทศ โดยเฉพาพี่น้องระดับรากหญ้าอย่างคุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ถือเป็นกลยุทธ์ SUBCULTURAL PROXIMITY – เข้าใจพร้อมแทรกซึมวัฒนธรรม/วิถีชีวิตหลากกลุ่มผู้บริโภค ในเวลานั้นคุณบิณฑ์ถือเป็นฮีโร่ของผู้ประสบภัยชาวอุบลฯ ยอดบริจาคกว่า 422 ล้านบาท ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน ผ่านบัญชีของคุณบิณฑ์ นี่คือตัวชี้วัดให้เห็นผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่จากการใช้โซเชียลมีเดีย แสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของผู้คนที่เต็มใจส่งต่อข้อมูลโดยไม่ลังเล เพราะมีความรู้สึกร่วม เห็นอกเห็นใจ และมองเห็นความสำคัญในเหตุการณ์นั้นๆ

 

 

 

  1. แคมเปญกล้าทำด้วยใจ…เพื่อคุณ

แคมเปญนี้ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ CULTURAL AGITATORS – ปลุก/เร้าอารมณ์ด้วยประเด็นร้อนทางสังคม,SUBCULTURAL PROXIMITY – เข้าใจพร้อมแทรกซึมวัฒนธรรม/วิถีชีวิตหลากกลุ่มผู้บริโภค และ CULTURAL SPOTLIGHTS/EXPERIMENTATION – ทะลายกรอบของแบรนด์ โอบกอดวัฒนธรรมผู้บริโภค และสร้าง Conversation อย่างต่อเนื่อง ในการทำการตลาดด้วยการสร้างกระแส แบรนด์จะต้องเข้าใจวัฒนธรรม และสร้างอารมณ์ร่วมให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารถึง โดยเลือกช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนใช้เนื้อหาที่มีเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนสร้าง Conversation ให้เป็นที่พูดถึงอย่างต่อเนื่อง

แคมเปญ “กล้าทำด้วยใจเพื่อคุณ” ของทิพยประกันภัย ถูกเปิดตัวในช่วงจังหวะเหตุการณ์น้ำท่วมภาคอีสาน โดยแบรนด์ได้สื่อสารแนวคิดในการมุ่งมั่นฝ่าฟันวิกฤตของประเทศ แสดงออกถึงความห่วงใยคนไทยมาตลอด 68 ปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค หนังโฆษณานี้เป็นการเล่าเรื่องจากโครงเรื่องที่มาจากเหตุการณ์จริงของผู้ประสบภัยพายุปลาบึกเมื่อ 2 ปีก่อน โดยนำเสนอเรื่องราวของผู้ประสบปัญหาที่ประกอบอาชีพในพื้นที่จริง เป็นการสร้างอารมณ์ร่วม ทำให้คนดูเข้าถึงกลุ่มคนวัฒนธรรมย่อย เสมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วย วิดีโอของแคมเปญนี้นี้มียอดเข้าชมกว่า 10 ล้านวิวในเวลาไม่ถึง 1 เดือน สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับ CSR คือการลงมือทำจริง ด้วยความจริงใจ เพราะผู้บริโภคสามารถรับข่าวสาร ตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นได้ง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย เหมือนเช่นทางแบรนด์ทิพยประกันภัยที่ได้ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัยในเหตุการณ์น้ำท่วมจ.อุบลราชธานีครั้งนี้ด้วย

 

 

 

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับแบรนด์ ในการสื่อสารด้านความรับผิดชอบต่อสังคมทางโซเชียล มีเดียคือ การลงมือทำจริง ด้วยความจริงใจ เพราะผู้บริโภคสามารถรับข่าวสาร ตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นได้ง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย เหมือนเช่นทางแบรนด์ทิพยประกันภัยที่ได้ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัยในเหตุการณ์น้ำท่วมจ.อุบลราชธานีครั้งนี้ด้วย

 

อินิชีเอทีฟ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์และแคมเปญต่างๆ ทั้ง offline และ online มากมาย และในปีนี้อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย จะฉลองครบรอบ 20 ปี ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/InitiativeTH หรือ www.ipgconnectstg.wpengine.com

 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทยได้ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร [email protected]

 

spot_img

Related Posts

รีไพร์ส ประเทศไทย ผลักดันความแข็งแกร่งการศึกษาไทยด้าน Digital Marketing

ล่าสุด คุณศุภฤกษ์ ตั้งเจริญศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รีไพร์ส ประเทศไทย (Reprise Thailand)...

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป พร้อมกลยุทธ์เข้าถึงใจ GEN Y ในวันนี้

  ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในช่วง GEN Y (พ.ศ. 2523 – 2543) โดยอายุอยู่ที่ประมาณ 25...

UM Thailand ต่อยอดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ‘UM Impact Day’ ปีที่ 6

กรุงเทพฯ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 –  UM Thailand ล่าสุดจัดกิจกรรมด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมประจำปีผ่านการรวบรวมขยะพลาสติกมาสร้างประโยชน์เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่สำนักงานพร้อมบริจาคทุนสนับสนุน บนความร่วมมือกับ Precious...

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ชี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนในไทย กลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามอง

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ล่าสุดจัดงานสัมมนา Initiative Thought Leadership 2023 ในหัวข้อ “Growth Beyond Thai Audience” อัพเดทกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไทยที่น่าจับตามอง...

เตือนภัย! เรื่องแอบอ้างชื่อบริษัท

สืบเนื่องจากการแอบอ้างผ่านช่องทางออนไลน์อ้างอิงเกี่ยวกับ บริษัท โอไรอ้อน เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีบัญชีผู้ใช้ Tiktok ได้แอบอ้างชื่อหรือข้อมูลของบริษัทฯ...
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.