ถ้าไม่พูดคำว่าเหนื่อย…จะพูดคำว่าอะไรดี?

Share This Post

น้องคนนึงที่ทำงานโพสต์ถามใน FB

เป็นคำถามชวนคิดที่เกิดขึ้นจริงที่พวกเรารับรู้ได้จากการ WFH มานาน จากงานวิจัยพบว่าผลเสียของการ WFH ทางด้านจิตใจทำให้พนักงานรู้สึกโดดเดี่ยว (isolated) ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัว สุดท้ายคือ Burnout ที่เรามักจะได้ยินบ่อยที่สุด

จริง ๆ แล้วสภาพเหนื่อย เครียด หรือ Burnout มันคืออะไรกันแน่ และเราอยู่จุดไหนกันแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่เราควรรับรู้เพราะ Self-awareness เป็นเหมือนกุญแจสำหรับการหาวิธีรับมือได้ถูกต้อง วันนี้เลยไป research เรื่องนี้มาฝากกัน

เราเครียดเบอร์ไหนกันแล้ว

  1. Honeymoon Phase: เกิดขึ้นเมื่อเราได้รับมอบหมายให้ทำงานใหม่ ๆ หรือเริ่มต้นทำธุรกิจครั้งแรก เราจะรู้สึกตื่นเต้น มีพลัง เต็มไปด้วยไอเดียบรรเจิด แต่สิ่งที่แถมมาด้วยคืออาการเบื้องต้นของการ Burnout ในช่วงนี้เราจะเริ่มสังเกตถึงความเครียดเล็ก ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น

สภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ

  • ความรู้สึกรับผิดชอบ (Commitment)
  • แรงผลักดันทางใจที่จะทำงาน
  • ความไหลลื่นทางความคิดสร้างสรรค์
  • รู้สึกได้ถึงพลังงานในตัว
  • ตื่นเต้น ใจเต้นแรง
  1. Onset of Stress: เริ่มที่จะเครียด ในช่วงนี้เราจะรู้สึกว่าเริ่มมีวันหนัก ๆ เกิดขึ้น พลังบวกเริ่มถดถอย สังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางกาย ทางความคิดและทางอารมณ์

สภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ

  • ความวิตกกังวล
  • เพลีย
  • หลงลืม
  • ความดันขึ้นสูง ปวดหัว ไม่อยากอาหาร
  • ไม่สามารถโฟกัส
  • ไม่อยากคุยกับใคร
  1. Chronic Stress: เมื่อความเครียดเริ่มสะสมในระดับสูงขึ้นและถี่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าหมดไฟ กำลังกายกำลังใจถดถอย

สภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ

  • โกรธ
  • ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
  • หวั่นวิตกง่าย (panic)
  • ตื่นเช้ามาร่างการเพลียเลย
  • ของขึ้นใส่คนรอบข้างบ่อย ๆ
  • ดื่มคาเฟอีนเยอะขึ้น
  • งานหลุด เดดไลน์หลุด
  • ร่างกายป่วยจริงจัง
  1. Burnout: รู้สึกได้ว่าร่างกายและอารมณ์เราไม่เหมือนเดิมแบบชัดเจน และแทบไม่สามารถควบคุมได้

สภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ

  • ไม่อยากหยิบจับทำอะไร
  • รู้สึกว่างเปล่าในใจ
  • มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ
  • สงสัยในตัวเอง
  • ปวดหัว ปวดท้องเรื้อรัง
  • ไม่สนใจความต้องการของตัวเอง
  • พฤติกรรมเปลี่ยนชัด

เมื่อเรารู้แล้วว่าเราอยู่ตรงไหน เราก็ต้องแก้ ต้องเริ่มจัดการกับตัวเอง อย่าปล่อยให้ลงลึกไปเรื่อย ๆ หรือที่ลึกไปแล้วก็ดึงกลับขึ้นมาหน่อย บทความหนึ่งจาก Harvard Business Review แนะนำวิธีรับมือกับการทำงานแบบ WFH เพื่อลดปัญหา burnout ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น

  • หาช่วงเบรกสั้น ๆ ในแต่ละวันเพื่อ restock พลังงาน เช่น ปิดคอมออกไปเดิน หาอะไรทาน แอบงีบ
  • เอามือถือไว้ไกล ๆ ตัว ตั้งใจว่าจะไม่จับในหนึ่งช.ม.นี้ ปิดมือถือตอนเข้านอน
  • ในเวลาเลิกงาน ให้ทำกิจกรรมที่เรารักวนไป จะดู Netflix ก็ดูยาว ๆ ไป (แต่อย่านอนดึก คหสต.) เรียนภาษาเกาหลี ออกไปวิ่ง ทำขนมปัง เลี้ยงแมว ช้อปออนไลน์
  • ลาหยุดไปเลย เราไม่ค่อยได้ใช้วันลาในช่วงนี้ วันลาเหลือเพียบ ลองจัดการตารางงานแล้วขอหัวหน้าลาพักเพื่อนอนนิ่ง ๆ ทั้งวันบ้าง
  • หาความหมายของการทำงาน บอกตัวเองว่าที่เราทำงานหนักอยู่เพื่ออะไร เพื่อใคร จะทำให้เราไปต่อได้และสู้กันไปได้อีกนิด เอารูปคนๆ นั้นเป็น wallpaper

ในฐานะหัวหน้างาน ผู้บริหาร และพี่สาว รู้นะว่าช่วงนี้หลายคนรู้สึกดาวน์ หมดไฟ burnout และไม่มี career passion อย่างที่เคย อยากให้รู้ว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียว พี่ก็เป็น (ฮา) (จะบอกให้หันไปมองข้าง ๆ ก็ไม่ได้เพราะเรา WFH อยู่) อยากให้รู้ว่าเป็นกันทั้งนั้นแหล่ะ ทั้งประเทศ เรายังโชคดีที่มีงาน (เยอะ) แปลว่างานมั่นคง (มาก) เราทำงานหนักเพราะเราเป็นคนที่มีความสำคัญ ฉันเก่งน่ะสิหัวหน้าและลูกค้าถึงมอบงานให้ฉันจัง เราเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของคนที่เรารักที่พึ่งพาเราอยู่ ถ้าเราโสด ทำงานคนเดียว เราก็จะทำงานเหนื่อยเพื่อเก็บเงินไว้เยอะ ๆ เพื่อไปซื้อความสุข ซื้อไลฟไตล์ที่เรารัก เดี๋ยวก็เสาร์ อาทิตย์แล้ว เดี๋ยวก็เงินเดือนออกแล้ว เดี๋ยวโบนัสก็จะออกแล้ว

เชื่อว่า WFH ทำให้ชีวิตเราเป็นแบบนี้ ถ้าโควิดดีขึ้น เราก็จะได้กลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ได้เจอเพื่อนร่วมงาน ได้ออกไปกินข้าวกลางวันและแวะตลาดนัดใต้ตึก แอบแวบลงมากซื้อชานมกินตอนบ่าย ได้ตั้งวงเม้ามอย(หัวหน้า) กับเพื่อน ๆ ชีวิตสนุก ๆ ในวันวานจะกลับมา แข็งใจไปต่อกันอีกหน่อยนะพวกเรามนุษย์เงินเดือน

ถึงตอนนี้ ไม่อยากจบบทความนี้ด้วยการหยิบสโลแกนทีมฟุตบอลทีมนี้มาเลยว่า You’ll Never Walk Alone

คุณดิว อินทปัญญา, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายวางแผนกิจกรรม


เกี่ยวกับเอนเซมเบิล

Ensemble (เอนเซมเบิล) คือ Creative Content Agency (ครีเอทีฟ คอนเทนต์ เอเยนซี่) ภายใต้ IPG Mediabrands Thailand (ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย) ซึ่งดำเนินธุรกิจทางด้านความคิดสร้างสรรค์สำหรับเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และการใช้เครื่องมือต่างๆ ในธุรกิจออนไลน์ เอนเซมเบิลทำงานร่วมกับทีมวางแผนกลยุทธ์และนวัตกรรม (Strategy & Innovation) เพื่อเข้าถึงข้อมูลและพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค ทำให้เอนเซมเบิลเป็นครีเอทีฟ คอนเทนต์ เอเยนซี่ที่มีประสิทธิภาพและโดดเด่น ทั้งยังจะเป็นครีเอทีฟ คอนเทนต์ เอเยนซี่รายแรกในประเทศไทยที่มีการผสานการใช้ Big Data (ฐานข้อมูลขนาดใหญ่), Insight (ข้อมูลเชิงลึก) และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแบรนด์

spot_img

Related Posts

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.