จดหมายเหตุรายเดือน มีนาคม, 2020

COVID-19 กับผลกระทบทางธุรกิจ

การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus) นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลายภาคส่วน และผลกระทบนี้กำลังขยายวงกว้างไปทั้งโลกเนื่องจากห่วงโซอุปทาน (Supply Chain) ไวรัสโคโรน่าถูกค้นพบครั้งแรก ประมาณปี ค.ศ. 1960 แต่สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด (COVID-19) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้รวดเร็วเพิ่งถูกพบที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ดังนั้นธุรกิจหลายประเภท...

คาดการณ์ผลกระทบจาก COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมโฆษณาทั่วโลก โดย MAGNA

Magna Global บริษัทที่ปรึกษาด้านข้อมูลและสถิติการลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสื่อ ในเครือ IPG Mediabrands คาดการณ์ถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโฆษณาทั่วโลก พบว่า สิ่งที่คาดการณ์หลัก การระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัส COVID-19 จะฉุดอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของทุกประเทศจะโตดีที่สุดในระดับแนวราบ (flat at best) ตลอดปี 2020...

บิ๊กสื่อกังวล ปัจจัยลบ ฉุดมีเดียนิ่ง

ไอพีจี เผยสถานการณ์สื่อโฆษณาน่ากังวลจากปัจจัยลบรอบด้าน ขณะที่ไฮซีซันยังนิ่ง ส่งผลทั้งปีไร้การเติบโต ย้ำเอเยนซียึดเกณฑ์ใช้เม็ดเงินตามผลิตภัณฑ์แบรนด์  ดร. ธราภุช จารุวัฒนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอพีจี มีเดียแบรนด์ ประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สถานการณ์ในปีนี้ค่อนข้างน่ากังวลอย่างมากสำหรับธุรกิจโฆษณา อย่างที่ทราบกันดีว่าตัวเลขเม็ดเงินสื่อโฆษณาจะสอดคล้องไปกับ GDP ของประเทศ และในปีนี้นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติสถานการณ์ต่างๆ มากมาย อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ ไวรัสโคโรนาและต่อเนื่องด้วยปัญหาทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และในความเป็นจริงแล้วในช่วงเดือนมีนาคมเป็นช่วงไฮซีซันของธุรกิจโฆษณา แต่เมื่อเจอปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นข้างต้นแล้วเชื่อว่า ในปีนี้เม็ดเงินในสื่อโฆษณาไม่น่าจะเติบโต ขณะเดียวกันในด้านภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เอเยนซียังให้ความสำคัญกับเรื่องของเรตติ้งเช่นเดิม และยังยึดเกณฑ์การซื้อสื่อโฆษณาไม่แตกต่างจากอดีต นั่นคือ การเลือกช่องโทรทัศน์ที่มีเรตติ้งสูงสุด 10 อันดับแรก จากนั้นจึงค่อยกระจายการใช้เงินไปยังสื่อช่องโทรทัศน์อื่นๆ ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ลูกค้า และในช่วงที่ผ่านมาจากข้อมูล Ariana พบว่าช่องโทรทัศน์ที่มีเรตติ้งสูงสุด 10 อันดับแรก คือ 1.ช่อง 7 2.ช่อง 3 3.โมโน 29 4.เวิร์คพอยท์ทีวี 5.ช่องวัน 31 6.ไทยรัฐ  7.อมรินทร์ทีวี 8.ช่อง 8 9.เนชั่นทีวี 10. MCOT “ในอดีตหลักเกณฑ์การใช้เงินทั่วไปของเอเยนซีจะใช้เงินในสื่อโทรทัศน์เป็นหลัก และให้นํ้าหนักสัดส่วนของเม็ดเงินกว่า 80-90% ไปกับช่อง 7 และช่อง 3 แต่ปัจจุบันต้องกระจายการใช้เงินไปยังสื่อต่างๆ มากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญของการทำงานเอเยนซี อย่างไรก็ตามก็ยังยึดผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเป้าหมาย คอนเทนต์ และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น” ดร. ธราภุช จารุวัฒนะ ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่มีการใช้เม็ดเงินสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.กลุ่มยานยนต์ 8,447 ล้านบาท เทียบกับปี 2561 ติดลบ 6% จากที่ปี 2561 มีการใช้เม็ดเงินที่ 9,020 ล้านบาท 2.กลุ่มสกินแคร์ 6,657 ล้านบาท ติดลบ 1% เทียบช่วงเดียวกัน 6,726 ล้านบาท 3.กลุ่มสื่อสาร (Communication) 5,035 ล้านบาท ติดลบ 27% อยู่ที่ 6,891 ล้านบาท 4.ธุรกิจบริการ เช่น แอพพลิเคชันต่างๆ 4,790 ล้านบาท เติบโต 1% อยู่ที่ 4,737 ล้านบาท 5.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 4,188 ล้านบาท ติดลบ 10% อยู่ที่ 4,644 ล้านบาท นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาแม้การใช้เม็ดเงินสื่อออนไลน์จะเติบโตอย่างมาก แต่หลังจากนี้จะชะลอการเติบโตลดลง เนื่องจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยังเป็นกลุ่มเดิม และในปี 2561 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาที่นิยม คือ 1.เฟซบุ๊ก จำนวนเงิน 4,941 ล้านบาท...
- Advertisment -

Most Read