จะจับสิงโตที่คานส์ต้องใช้อะไรบ้าง?

Share This Post

คุณบุ้ง ธราภุช จารุวัฒนะ Group CEO ของ IPG Mediabrands Thailand ได้รับเกียรติจาก BRAND BUFFET.IN.TH เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในงานเสวนาประจำปี BRAND TALK ครั้งที่ 12 Cannes Lions Insider 2017 ชำแหละสิงโตคานส์ ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินงานโฆษณาระดับโลกคานส์ไลออน 2017

โดยคุณบุ้งได้เข้าร่วมสนทนาในไฮไลท์สำคัญในช่วงแรก Cannes Lions Insider 2017 ชำแหละสิงโตคานส์ จากกรรมการไทย ร่วมกับคุณชนัษฐพล เธียรศรี ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ TBWA \ Thailand และคุณ กิตติ ไชยพร ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟไดเรคเตอร์ ชูใจ กะ กัลยาณมิตร

โดยในการพูดคุยได้มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการตัดสินมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของจำนวนผลงานที่ส่งเข้ามาประกวดในปีนี้ซึ่งมีมากกว่า สี่หมื่นนึงพันผลงาน ขั้นตอนการตัดสินของคณะกรรมการ เกณฑ์การให้คะแนน และมีการพูดคุยถึงทิศทางของงานโฆษณาของไทยและในระดับโลกว่าจะไปในทิศทางไหน

เหล่าวิทยากรได้มีการเปิดเผยว่า เนื่องจากในปีนี้มีผลงานส่งเข้ามาในแต่ละหมวดหมู่จำนวนเยอะมากทำให้ต้องมีการตัดสิน Online กันก่อนที่จะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศษ ซึ่งกรรมการจะสามารถเห็นผลงานได้เฉพาะในหมวดหมู่ที่ตนเองได้รับเลือกให้ตัดสินเท่านั้น และไม่สามารถให้คะแนนกับผลงานกับผลงานจากต้นสังกัดของตัวเองได้

เทรนด์การให้คะแนนจากคณะกรรมการในปีนี้ คุณบุ้ง ได้ให้ข้อมูลเสริมว่า

จะเห็นจากผลงานที่ได้รางวัลต่างๆซึ่งส่วนมากจะมีการใช้ Data-Driven บวกกับความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับประสบการณ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ่งมากขึ้นและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมได้อย่างแท้จริง

คุณบุ้ง ธราภุช จารุวัฒนะ Group CEO ของ IPG Mediabrands Thailand
คุณบุ้ง ธราภุช จารุวัฒนะ Group CEO ของ IPG Mediabrands Thailand’

คุณบุ้งยังได้กล่าวเสริมถึงประสบการณ์เกี่ยวกับเทศกาลนี้อีกว่า ในปีแรกที่ได้มาเค้ามาในฐานะของผู้สังเกตุการณ์และในปีต่อมาก็เข้าร่วมในฐานะผู้ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดและล่าสุดกับการได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ คุณบุ้งสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างโดยเฉพาะการเติบโตของผลงานจากประเทศจีนที่มากขึ้นถึงขนาดมีการจัด China Night กันเลยทีเดียว

ในการสนทนายังได้มีการพูดถึงผลงานจาก McCann New York ที่มีชื่อว่า “Fearless Girl” ซึ่งกวาดรางวัลระดับ Grand Prix ถึง 4 รางวัล ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เรียบง่ายแต่สื่อความหมายได้อย่างลึกซึ่งในหลายๆบริบทโดยเฉพาะการท้าทายอำนาจของผู้ชายโดยมีวัวกระทิงเป็นสัญลักษณ์ และสะท้อนสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางเพศที่อยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน และ “Fearless Girl” ก็น่าจะเป็นหนึ่งในผลงานที่สามารถเป็นตัวอย่างให้กับการคิดงานชิ้นใหม่ๆได้ในอนาคต

DSC01983

ในการสนทนาได้มีการพูดถึงผลงานจากเมืองไทยว่าในแต่ละปีมีการส่งผลงานเข้าร่วมจำนวนน้อยชิ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งผลงานจากประเทศใหญ่ๆแต่กลับกันในทุกๆปีผลงานจากประเทศไทยสามารถสร้างชื่อเสียงและคว้ารางวัลมาได้โดยตลอดซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยสิ่งที่เหล่าวิทยากรทุกๆท่านอยากฝากให้ได้คิดกันต่อก็คือ การเปิดใจให้กว้างและเสพผลงานของคนอื่นเยอะๆ การเลือกหมวดหมู่ที่เราจะส่งอย่างตั้งใจและมีความพร้อม และสุดท้ายคือการลงมือทำงานให้เต็มที่กับทุกชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายแค่สามอย่างนี้ผลงานจากประเทศไทยก็มีสิทธิ์ที่จะจับสิงโตจากเมืองคานส์ได้ไม่ยาก

DSC01993

 

spot_img

Related Posts

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.