Data Scientist ศาสตร์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

Share This Post

บทความโดย ศรัณยพัชร์ อติกันต์ธนา ผู้จัดการแผนก Investment & Knowledge ในเครือ ไอพีจี มีเดีย แบรนด์ส

การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาจุดอ่อนหรือจุดแข็งทางธุรกิจ นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่นักการตลาดได้นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการวางแผนการลงทุน รวมไปถึงการแข่งขันทางธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะทำให้นักการตลาดสามารถวางแผนรับมือได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับสากล และในประเทศไทยถูกเรียกว่า การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และสถิติ รวมถึงความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์เข้าด้วยกัน ในการทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis) และตัวแบบทางสถิติ (Statistical Modelling) เพื่อที่จะคาดการณ์ยอดขายหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค เพราะหากได้ข้อมูลที่แม่นยำมากเท่าไร การวางแผนทางการตลาดหรือการวางแผนการลงทุนทางธุรกิจในอนาคตย่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Data Scientist) ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยธุรกิจที่นำเข้ามาใช้อย่างเด่นชัดที่สุด ก็คือ ธนาคาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโรงแรม หรือแม้กระทั่งธุรกิจสื่อสารมวลชน

หลักการนี้ได้ถูกประยุกต์เข้ามาใช้ในการลงทุน และการวางแผนการซื้อสื่อ (Media Investment) ทั้งสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในอเมริกา และยุโรป สำหรับในประเทศไทย ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ได้นำหลักการนี้เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์วางแผนให้กับลูกค้า เพื่อช่วยในการวางแผนสื่อทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ให้มีประสิทธิภาพตอบสนองวัตถุประสงค์ทางด้านภาพลักษณ์ของสินค้า และการเพิ่มยอดขายของสินค้าทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

ทางด้านการซื้อสื่อออนไลน์ได้ใช้หลักการดังกล่าวมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากเวปไซต์ที่เข้า หมวดที่สนใจ ช่วงเวลา ฯลฯ แล้วนำเอาผลสรุปมาวางแผนการลงโฆษณาในสื่อออนไลน์ว่า สินค้าชนิดนี้ควรลงโฆษณาในเวปไซด์ประเภทใดหรือเวลาใดเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้เวปไซต์ได้เห็น และรับรู้สินค้า อันนำไปสู่การซื้อสินค้าในที่สุด

เช่นเดียวกับการลงโฆษณาในสื่อออฟไลน์หรือสื่อดั่งเดิม (Traditional Media) ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการดังกล่าวจะช่วยบอกได้ว่าสื่อไหนเหมาะสมในช่วงเวลาใด หรือควรใช้อย่างไร ควรลงโฆษณามากน้อยเพียงใดจึงจะเหมาะสมที่สุด เพื่อทำให้เกิดการรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness) และยอดขาย (Sale Revenue) สูงที่สุดภายใต้ความเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ

หลักการทางวิทยาศาสตร์ (Data Scientist) จึงนับเป็นการนำศาสตร์ทางธุรกิจเข้ามาเพิ่มเขี้ยวเล็บให้กับธุรกิจมีเดียได้อย่างลงตัว

spot_img

Related Posts