“คอนเทนต์ภาษาหยาบ” โดนใจผู้บริโภคยุคนี้จริงหรือ?

Share This Post

อย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ว่าทุกวันนี้ผู้บริโภคแทบจะเสพสื่อออนไลน์เป็นสื่อหลักไม่ว่าจะอัพเดทดราม่า, ไลฟ์สไตล์ หรือเรื่องบันเทิง ผ่านทางเพจต่างๆที่อยู่ในเฟสบุค ซึ่งในระยะหลังๆก็ได้มีเพจใหม่ๆทยอยขึ้นมาอย่างมากมายแถมยังสามารถเรียกได้ทั้งยอดไลค์และ engagement จากผู้คนได้สูงลิบในระยะเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย

หากลองสังเกตเพจต่างๆเหล่านั้นดู จะพบว่า content และบทสนทนาโต้ตอบระหว่างเพจและลูกเพจมักจะใช้ภาษาที่เป็นกันเองอย่าง “กู” “มึง” ในการพูดคุย รวมไปถึงคำสบถต่างๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นภาษาบ้านๆที่เพื่อนมักใช้คุยกับเพื่อน โดยภาษาเหล่านี้หลายๆคนอาจมองว่าเป็นคำหยาบ แต่ก็กลับถูกใจผู้บริโภคเป็นอย่างมาก จึงทำให้เพจเหล่านี้มี engagement rate และ ยอด fans ที่สูง ทำให้แบรนด์หลายๆแบรนด์ ตัดสินใจที่จะนำสินค้าของตัวเองไปโปรโมตในเพจดังกล่าวโดยใช้ตัวจนกับภาษาที่เพจนั้นๆใช้ เพื่อทำให้การโพสต์โฆษณาดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด

ถ้ายังจำกันได้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในยุคที่สื่อโทรทัศน์ยังเป็นพี่ใหญ่แบบไม่มีใครสามารถสั่นคลอนบัลลังก์ลงได้นั้น คำสบถทั่วไปที่คนทั่วไปที่เพื่อนใช้คุยกัน หรือแม้แต่คำว่า “กู” “มึง” ซึ่งเป็นภาษาปากที่คนหลายๆคนใช้พูดกันเป็นปกติ กลับได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ อีกทั้งยังโดนเซนเซอร์ดูดคำออกอีกด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับเยาวชน แต่พอมาถึงทุกวันนี้ในยุคแห่งโซเชียลมีเดีย เกิดอะไรขึ้นกับจริตของผู้บริโภคที่สามารถยอมรับอีกคอนเทนต์ภาษาหยาบได้อย่างไม่เคอะเขิน อีกทั้งยังรู้สึกชื่นชอบและสนุกกับการเสพคอนเทนต์แบบนี้กัน

หนูชอบตามเพจน้องค่ะ บางครั้งก็ไปตอบในคอมเนต์ รู้สึกว่าเป็นกันเองดีค่ะ ไม่ประดิษฐ์ ดูจริงใจเหมือนคุยกับเพื่อน เพราะคุยกับเพื่อนปกติก็พูดคำพวกนี้อยู่แล้ว ส่วนพวกโฆษณาที่เขาโพสต์ก็รู้นะคะว่าเป็นโฆษณาแต่ก็ไม่ได้แอนตี้เพราะว่าเขาก็ขายตรงๆแบบฮาๆเราก็สนุกไปด้วยจนบางครั้งก็สนใจสินค้านั้นจริงๆ” นางสาว ฐิติรัตน์ นักเรียนอายุ 15 ปีกล่าว

shutterstock_208388032

“ผมว่ามันดูใจๆดี ไม่เฟคว่ะ จะขายของก็ขายเล้ย อย่างเพจอีเจี๊ยบเนี่ยเวลามันจะขายของเอาจริงๆมันก็ไม่เนียนหรอกนะ พวกเราก็รู้ แต่มันตลกดีบางทีเราก็สนใจไอ้ที่มันโพสต์โฆษณาอยู่จริงๆนะ มันเหมือนกับเพื่อนแนะนำเพื่อนอ่ะ บางทีพูดเพราะๆมันดูไม่น่าไว้ใจ แบบจะมาหลอกอะไรกูป่ะวะ อีกอย่างนึงก็คือเหมือนเป็นที่ที่ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่” นาย โชติพันธ์ นักศึกษา อายุ 20 เล่าให้ฟังถึงความรู้สึก

จากบทสัมภาษณ์ข้างต้นทำให้เราสังเกตุได้ว่าการเลือกใช้ภาษาที่เป็นกันเองเช่น “กู กับ มึง” ผสมกับคำสบถแรงๆบ้างในบางครั้ง ประกอบกับคอนเทนต์ที่น่าสนใจของแต่ละเพจทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนว่าแอดมินเพจเป็นคนที่จับต้องได้ รู้สึกสนุกเหมือนได้คุยกับเพื่อนที่พูดภาษาเดียวกันในโลกความเป็นจริง ซึ่งในขณะเดียวกัน Official Page ของแบรนด์ต่างๆกลับไม่สามารถคุยกับผู้บริโภคด้วยภาษาแบบนั้นได้ ดังน้นเพจต่างๆพวกนี้จึงได้กลายเป็นอีกช่องทางการสื่อสารทดแทนที่แบรนด์สามารถใช้เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างเป็นธรรมชาติและเพื่อสื่อเป็นนัยได้ว่าแบรนด์กำลังพูดภาษาเดียวกันกับพวกเขา และเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขาอย่างแท้จริง

ในทางกลับกันบางกรณีที่บางแบรนด์ตัดสินใจเลือกสื่อสารโดยใช้เพจที่ใช้ถ้อยคำเป็นกันเองแต่กลับกลัวและรู้สึกเซ้นส์ซิทีฟกับคอนเทนต์ดังกล่าว เลยเข้ามาควบคุมภาษาและสไตล์ของเพจที่ตนเลือกใช้มากเกินไป จึงทำให้คอนเทนต์ไปได้ไม่สุด เพราะหมดเสน่ห์จากการสูความญเสียตัวตนของเพจนั้นๆที่แบรนด์เลือกใช้ เลยทำให้ KPI ที่อุตส่าวางไว้ไม่เป็นไปตามแพลน

ทั้งนี้หากแบรนด์มีความเข้าใจในผู้บริโภคของตัวเองว่าเขาชอบเสพสื่อสไตล์ไหน เขาพูดภาษาแบบไหน เขาชอบอะไร แล้วมาพิจารณาต่อว่าเราเลือกที่จะพูดภาษาเดียวกัน หรือคุยเรื่องเดียวกันกับเขาหรือไม่ แบรนด์ก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าควรเลือกสื่อสารกับเขาด้วยถ้อยคำไหนผ่านสื่อการสื่อสารนั้นสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด

 

Joy

Patcharakamol Esdul
Senior Content Strategist

spot_img

Related Posts

บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.