การเสพสื่อของคนไทยยุค 4G

0
8927

เพราะการเติบโตของอินเตอร์เนต และการขยายตัวของระบบ 4G ได้ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้คนไทยในปัจจุบันกว่า 69 ล้านคนมีพฤติกรรมการบริโภคสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เคยเสพสื่อจากโทรทัศน์เป็นหลักได้เปลี่ยนไปเสพสื่อผ่านอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้นทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative ได้นำข้อมูลจากการสำรวจของUM Wave ที่ทำการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคอายุ 15 ปีขึ้นไปถึงพฤติกรรมการเสพสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งรวมถึงความนิยมในการเสพสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่าง ๆ มาให้ได้อ่านกัน

5509715949329

ถึงแม้อินเตอร์เนตจะกระจายการเข้าถึงไปทั่วทุกภูมิภาค แต่โทรทัศน์ก็ยังคงเป็นสื่อหลัก และยังเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชากรได้ดีที่สุด โดยสามารถเข้าถึงประชากรกว่า 68 ล้านคนหรือประมาณ 98% ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนสื่อที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภครองลงมาคือ แลปท็อปหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการเข้าถึงได้ถึง 28 ล้านคนหรือประมาณ 41% เป็นสัดส่วนที่เท่ากันกับโมบายล์ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลมาจากการแข่งขันของค่ายมือถือ 3 รายใหญ่ และการขยายระบบ 4G ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

5509718878709

และเมื่อดูถึงความนิยมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์พบว่า Facebook ยังครองความนิยมได้ถึง 52% หรือประมาณ 36 ล้านคน โดยผู้หญิงนิยมการใช้มากกว่าผู้ชายในสัดส่วน 51: 49 ซึ่งกลุ่มที่นิยมมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20 -29 ปี ในสัดส่วน 34% ตามมาด้วยกลุ่มอายุ 12-19 ปีที่มีราว 27% กลุ่มอายุ 30-39 ปีมีสัดส่วนการใช้ราว 21%  กลุ่มอายุ 40-49 ปีมีสัดส่วนการใช้อยู่ที่ 11% และอายุ 50 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนการใช้เพียง 7% เท่านั้น สื่อสังคมอันดับ 2 คือ โปรแกรมแชทยอดนิยม Line มีอัตราส่วนการใช้ที่ใกล้เคียงกันที่ 33 ล้านคนหรือประมาณ 48% โดยผู้หญิงยังคงให้ความนิยมในโปรแกรมนี้มากกว่าผู้ชายเช่นกันในสัดส่วน 51:49 สำหรับกลุ่มอายุที่นิยมใช้ Line สูงสุดก็คือ กลุ่ม 20-29 ปีในสัดส่วน 36% ตามมาด้วยกลุ่ม 12–19 ปีที่มี 25% สื่อสังคมยอดนิยมอันดับ 3 คือ Youtubeมีสัดส่วนของผู้ใช้ถึง 30 ล้านคนหรือเท่ากับ 43% และยังคงจะเห็นว่าผู้หญิงยังให้ความนิยมสูงกว่าเช่นเคยที่ 51:49 ซึ่งกลุ่มที่นิยมสูงสุดก็ยังคงเป็นกลุ่มอายุ 20-29 ปี ที่ใช้ประมาณ 31% ตามมาด้วยกลุ่มอายุ 12-19 ปีในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันที่ 28% สื่อสังคมอันดับ 4 คือ Instagram มีกลุ่มที่นิยมใช้ไม่มากนักเพียง 7.8 ล้านคนหรือ 11% ของประชากรทั้งหมด และเช่นเคยคือ ผู้หญิงยังเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจมากกว่าผู้ชายคือ 59:41 โดยกลุ่มอายุที่นิยมชมชอบการใช้ Instagram ก็คือ 20-29 ปี ในสัดส่วนที่สูงถึง 63% ตามด้วยกลุ่มอายุ 30-39 ปี ในสัดส่วน 20% ส่วนกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ 12-19 ปีมีการใช้ Instagram เพียง 12% เท่านั้น และสื่อสังคมยอดนิยมอันดับ 5 คือ Twitter มีผู้ติดตามเพียง 7% หรือราว 4.5 ล้านคนเท่านั้น โดยผู้นิยมใช้ก็ยังเป็นกลุ่มผู้หญิงที่มีมากกว่าผู้ชายอัตราส่วน 55:45 สิ่งที่แตกต่างคือ กลุ่มอายุที่นิยมใช้เป็นเด็กวัยรุ่นที่มีอายุ 12-19 ปีมีสัดส่วนสูงที่สุด 43% ตามด้วยกลุ่ม 20-29 ปีที่ 30% ในขณะที่กลุ่มอายุ 30-39 ปีมีเพียง 15% เท่านั้น

5509722407979

ผลสำรวจของ UM Wave ยังพบว่า ผู้บริโภคอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการบริโภคสื่อโทรทัศน์น้อยลงเหลือเพียง2.44 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่บริโภคสื่อผ่านแลปท็อป 3.45 ชั่วโมงต่อวัน และใช้สมาร์ทโฟนหรือโมบายล์เพื่อท่องอินเตอร์เนต 3.03 ชั่วโมงต่อวัน

เมื่อแยกย่อยถึงการใช้อินเตอร์เนตในสังคมออนไลน์ของคนกลุ่มนี้พบว่า กลุ่มนี้ใช้เวลากับ Facebook เฉลี่ยถึง 2.77 ชั่วโมง มีการใช้Line ประมาณ 1.92 ชั่วโมงต่อวัน เปิดดู YouTube เฉลี่ย 2.19 ชั่วโมงต่อวัน Instagram 1.25 ชั่วโมงต่อวัน และใช้Twitter 1.29 ชั่วโมงต่อวัน

และเพื่อเป็นการปรับตัวให้สื่อดั้งเดิมอย่างโทรทัศน์สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ๆ ได้มากยิ่งขึ้น สื่อโทรทัศน์จึงควรจะใช้ประโยชน์จากขัอมูลการเสพสื่อผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจโดยปรับเวลาในการนำเสนอคอนเทนท์ให้เหมาะสม และแตกต่าง โดยเริ่มจากสื่อโทรทัศน์ก่อน แล้วตามด้วยจออื่น ๆ ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ได้ทำให้ต้นทุนของการทำคอนเทนท์เพิ่มขึ้น แต่กลับช่วยสร้างรายได้มากขึ้นจากการขายโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ และการขายลิขสิทธิ์อีกด้วย

5509586779842 5509585487830

บทความโดย กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี / อรรณพ ดวงมณี
[email protected] / [email protected]