หน้าแรกMARKETING COMMUNICATIONSทางรอดรายการทีวีในยุคดิจิตอลและออนไลน์ ทำรายการทีวีให้ดังในยุคดิจิตอล

ทางรอดรายการทีวีในยุคดิจิตอลและออนไลน์ ทำรายการทีวีให้ดังในยุคดิจิตอล

ในยุคที่คนไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เกินครึ่งของประชากร ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชม การผลิตรายการโทรทัศน์จึงต้องคิดเยอะมากกว่าเดิม ไม่ใช่แค่อยากผลิตรายการแบบไหนให้ผู้ชมเท่านั้น แต่ต้องตอบสนองความต้องการของผู้ชมด้วย เรตติ้งจึงไม่ใช่สิ่งเดียวที่ผู้ผลิตให้ความสนใจ รายการทางอินเตอร์เน็ตหรือคลิปวิดีโอที่อยู่ในสื่อออนไลน์นั้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องจับตามอง เพราะการเข้าถึงง่ายและเข้ากับไลฟสไตล์ของคนรุ่นใหม่ จึงทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ รายการโทรทัศน์จึงต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาและหากรายการใดสามารถใช้สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ให้เป็นเครื่องมือได้ ก็จะทำให้นำเสนอเนื้อหารายการสู่คนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น

การปรับตัวของรายการทีวีในยุคนี้ สามารถทำได้โดย

เนื้อหา ต้องเป็นเนื้อหาของผู้ชมไม่ใช่เนื้อหาจากผู้ผลิตรายการ คือการทำรายการที่ดี แตกต่าง และตรงใจของผู้ชม การเลือกเนื้อหารายการที่ทำให้ผู้ชมเกิดประสบการณ์ร่วม จะทำให้เกิดการเข้าถึงและติดตามมากกว่า หรือแม้แต่การการเลือกสิ่งที่ผู้ชมให้ความสนใจอยู่แล้วมาผลิตรายการ เช่น การเลือกซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมาผลิตเป็นเวอร์ชั่นไทย ก็ได้รับความสนใจมากไม่น้อย รวมถึงการออกอากาศให้ถูกที่ถูกทางก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ผลิตควรรู้ว่ารายการเรามีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร เหมาะกับช่องไหน ช่วงเวลาใด และในเวลานั้นช่องอื่นมีอะไรบ้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างความสนใจให้คนจำได้ ระลึกไว้เสมอว่า รายการดีแต่คนดูหาไม่เจอก็ไม่มีประโยชน์อยู่ดี

การเชื่อมโยงสื่อ one content, multi-platform การนำรายการโทรทัศน์ออกสู่ช่องทางอื่นๆ รวมถึงการขยายรายละเอียดและสร้างความเชื่อมโยงกับเนื้อหาในรายการ ผ่านช่องทางที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น application, website, fanpage, youtube ให้สอดรับกับพฤติกรรม เลือกดูได้ตามความสะดวก เช่น

  • การดูย้อนหลัง ทาง Youtube Channel/Line TV
  • เทปพิเศษ uncensor ใน fanpage/website
  • การบอกเส้นทาง สูตรอาหารและวิธีทำโดยละเอียด ใน fanpage/website
  • การดูสดแบบ real time ใน application/facebook live
  • การจัดกิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวกับรายการ (special event)

การหลอมรวมของสื่อ เมื่อพฤติกรรมของผู้ชมเปลี่ยนเป็น multi-screen หรือการดูหลายจอในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง “หลายจอ ต่างเนื้อหา” นั่นหมายความว่า โทรทัศน์ อาจไม่ใช่จอหลักที่ได้รับความสนใจ หลายคนเปิดโทรทัศน์เพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงาเท่านั้น แต่กลับให้ความสนใจกับโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในมือมากกกว่า แต่ในทางกลับกัน หากเป็น “หลายจอ เนื้อหาเดียวกัน” โทรทัศน์ก็จะกลายเป็นจอหลักที่คนให้ความสนใจ อาจจะเป็นการค้นหาข้อมูลจากสิ่งที่ได้ชมได้ยินจากรายการ การร่วมกิจกรรม/ตอบคำถามโดยใช้จอหลังเป็นตัวตั้งต้นแล้วขยายสู่จอที่ 2 และ 3 เช่น การตั้งคำถามจากเนื้อหารายการแล้วให้ไปตอบใน fanpage, การถ่ายรูปกับโลโก้ในจอโทรทัศน์ หรือการส่ง SMS เมื่อมีสัญลักษณ์ต่างๆบนจอโทรทัศน์ การทำให้ทุกจอเป็นเนื้อหาเดียวกันนี้ นับเป็นเรื่องท้าท้ายของรายการโทรทัศน์ทุกรายการที่จะทำอย่างไรให้ตัวเองยืนอยู่ในตำแหน่งของจอหลัก ทำอย่างไรให้ผู้ชมหันกลับมาสนใจเนื้อหารายการ

และที่สำคัญ ความรวดเร็วของสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ก็ยังทำให้คนดูกลายเป็นสื่อด้วยเช่นกัน การโพสต์ข้อความชื่นชม บอกต่อ เชิญชวนคนรอบข้าง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ที่ช่วยต่อชีวิตให้รายการโทรทัศน์กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง

ถึงแม้ว่ารายการโทรทัศน์จะมีการปรับตัวให้เข้ากับสื่ออื่นๆ และใช้ช่องทางอื่นเข้ามาช่วย แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงไว้ซึ่งความพิเศษของตัวเอง นั่นคือคุณภาพของรายการผลิตรายการ บรรยากาศอบอุ่นของการดูร่วมกัน การร่วมลุ้น ร่วมเชียร์ ก็ยังคงเป็นเสน่ห์และความเป็นธรรมชาติของสื่อโทรทัศน์อีกด้วย

13932935_10207908625288090_2560325589535365624_n
บทความโดย
Jira Jariyayothin
Senior Strategist, Ensemble

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments