Video Content นับเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังมานานแล้ว และความนิยมก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งฝั่งของทางแบรนด์เองและฝั่งของผู้บริโภคที่สนใจรับชมคอนเท้นท์โฆษณามากชึ้น ถ้าคอนเท้นท์ได้ให้อะไรบางอย่างกับผู้ชมได้จริงไม่ว่าจะเป็นความสนุกหรือสาระความรู้อื่นๆ ที่ผ่านมาในสื่อของบ้านเราก็มีทั้งคอนเท้นท์ที่ทั้งปังก็มาก แต่ที่พังก็มีไม่น้อย เราลองมาดูรูปแบบของการทำ Video Content ปัจจุบันที่น่าสนใจและนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการสื่อสารทางการตลาดในยุคนี้ ไม่ว่าทางแบรนด์จะเป็นผู้ผลิตเอง หรือสื่อสารผ่านสื่อของ Content Creator ที่ได้รับความนิยมในโซเชียลต่างๆ
- “ขายของ” ก็บอกว่าขายของ
การทำ Tie-in คอนเท้นท์มักจะเป็นที่รู้กันว่าต้อง “เนียน” แต่ยังไงก็ถูกจับได้ว่ากำลังขายของ ซึ่งปัจจุบัน ผู้บริโภคโอเคกับคอนเท้นท์ขายของมากขึ้น ขอแค่ต้องสนุกสนาน จริงใจ และเปิดเผยข้อมูลสินค้าอย่างตรงไปตรงมา
- ตรงจุด Pain Point ของผู้บริโภค
ท่ามกลางเนื้อหาสาระบันเทิง ต้องพูดถึงปัญหาที่ผู้บริโภค พบเจอได้อย่างตรงจุด เพื่อให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมและอินไปกับ Content ที่เรานำเสนอ อีกหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงคือ Content ที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็นหลายชิ้น หลายตอน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของ ผู้บริโภคที่แตกต่างกัน
- รูปแบบต้องเหมาะเจาะกับสื่อที่จะลง
เป็นธรรมดาที่ผู้บริโภคสื่อแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมและความสนใจในขณะที่ชมแตกต่างกันไป ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบของสื่อวีดิโอไม่ได้จำกัดในรูปแบบแนวนอนเสมอไป รูปแบบแนวตั้งในสัดส่วน 3:4, 9:16 หรือแบบจัตุรัส 1:1 ก็ต้องคำนึงถึงหากจะเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่จอ Digital Billboard ก็มีหลากหลายขนาด ดังนั้นการผลิตวีดิโอคอนเท้นท์ ต้องคำนึงถึงสื่อที่จะลงไปตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมผลิต (Pre-Production) เพื่อให้การรับสื่อนั้นมีประสิทธิภาพ
- Marketing ไม่ต้องลุยงาน Content เพียงลำพัง
ภาพลักษณ์ของแบรนด์และธุรกิจมักจะสะท้อนมาจากบุคลากรภายในองค์กร ดังนั้นแต่ละหน่วยงานในธุรกิจก็จะมีมุมในการสื่อสารที่แตกต่างกัน ซึ่ง Content ที่ผ่านมุมมองของหน่วยงานอื่น เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล, ฝ่ายผลิต หรือฝ่ายการเงิน ก็จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของแบรนด์และธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น
- Collaboration ระหว่างแบรนด์
ช่วงนี้เราจะเห็นหลายๆ แบรนด์ในท้องตลาดมี Collaboration ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือ Content ใหม่ๆ ซึ่งช่วยให้หลายๆ แบรนด์เป็นที่พูดถึง แถมยังแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างแบรนด์อีกด้วย
จะว่าไปสูตรสำเร็จของการทำ Branded Content อาจไม่ได้มีบอกไว้อย่างตายตัว เพราะพฤติกรรมของผู้ชมก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่วัดผลและชี้วัดได้จริงๆ ก็คือความนิยมและ Engagement จากผู้บริโภค หลังจากที่เผยแพร่ ส่วน Business Result ก็ขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์และการวางกลยุทธ์ของเนื้อหา ในการทำคอนเท้นท์เหล่านั้น
หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดในยุคดิจิตอล สามารถติดต่อมาได้ที่ [email protected] ทางเรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ
ผู้เขียน
นายชาคริต ประวาลปัทม์กุล – Content Manager ของ Ensemble Thailand, a division of IPG Mediabrands Thailand
และขอขอบคุณบทความจาก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 31 | ฉบับ 3516 ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2562