Data Scientist ศาสตร์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

Share This Post

บทความโดย ศรัณยพัชร์ อติกันต์ธนา ผู้จัดการแผนก Investment & Knowledge ในเครือ ไอพีจี มีเดีย แบรนด์ส

การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาจุดอ่อนหรือจุดแข็งทางธุรกิจ นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่นักการตลาดได้นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการวางแผนการลงทุน รวมไปถึงการแข่งขันทางธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะทำให้นักการตลาดสามารถวางแผนรับมือได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับสากล และในประเทศไทยถูกเรียกว่า การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และสถิติ รวมถึงความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์เข้าด้วยกัน ในการทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis) และตัวแบบทางสถิติ (Statistical Modelling) เพื่อที่จะคาดการณ์ยอดขายหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค เพราะหากได้ข้อมูลที่แม่นยำมากเท่าไร การวางแผนทางการตลาดหรือการวางแผนการลงทุนทางธุรกิจในอนาคตย่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Data Scientist) ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยธุรกิจที่นำเข้ามาใช้อย่างเด่นชัดที่สุด ก็คือ ธนาคาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโรงแรม หรือแม้กระทั่งธุรกิจสื่อสารมวลชน

หลักการนี้ได้ถูกประยุกต์เข้ามาใช้ในการลงทุน และการวางแผนการซื้อสื่อ (Media Investment) ทั้งสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในอเมริกา และยุโรป สำหรับในประเทศไทย ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ได้นำหลักการนี้เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์วางแผนให้กับลูกค้า เพื่อช่วยในการวางแผนสื่อทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ให้มีประสิทธิภาพตอบสนองวัตถุประสงค์ทางด้านภาพลักษณ์ของสินค้า และการเพิ่มยอดขายของสินค้าทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

ทางด้านการซื้อสื่อออนไลน์ได้ใช้หลักการดังกล่าวมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากเวปไซต์ที่เข้า หมวดที่สนใจ ช่วงเวลา ฯลฯ แล้วนำเอาผลสรุปมาวางแผนการลงโฆษณาในสื่อออนไลน์ว่า สินค้าชนิดนี้ควรลงโฆษณาในเวปไซด์ประเภทใดหรือเวลาใดเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้เวปไซต์ได้เห็น และรับรู้สินค้า อันนำไปสู่การซื้อสินค้าในที่สุด

เช่นเดียวกับการลงโฆษณาในสื่อออฟไลน์หรือสื่อดั่งเดิม (Traditional Media) ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการดังกล่าวจะช่วยบอกได้ว่าสื่อไหนเหมาะสมในช่วงเวลาใด หรือควรใช้อย่างไร ควรลงโฆษณามากน้อยเพียงใดจึงจะเหมาะสมที่สุด เพื่อทำให้เกิดการรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness) และยอดขาย (Sale Revenue) สูงที่สุดภายใต้ความเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ

หลักการทางวิทยาศาสตร์ (Data Scientist) จึงนับเป็นการนำศาสตร์ทางธุรกิจเข้ามาเพิ่มเขี้ยวเล็บให้กับธุรกิจมีเดียได้อย่างลงตัว

spot_img

Related Posts

รีไพร์ส ประเทศไทย ผลักดันความแข็งแกร่งการศึกษาไทยด้าน Digital Marketing

ล่าสุด คุณศุภฤกษ์ ตั้งเจริญศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รีไพร์ส ประเทศไทย (Reprise Thailand)...

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป พร้อมกลยุทธ์เข้าถึงใจ GEN Y ในวันนี้

  ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในช่วง GEN Y (พ.ศ. 2523 – 2543) โดยอายุอยู่ที่ประมาณ 25...

UM Thailand ต่อยอดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ‘UM Impact Day’ ปีที่ 6

กรุงเทพฯ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 –  UM Thailand ล่าสุดจัดกิจกรรมด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมประจำปีผ่านการรวบรวมขยะพลาสติกมาสร้างประโยชน์เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่สำนักงานพร้อมบริจาคทุนสนับสนุน บนความร่วมมือกับ Precious...

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ชี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนในไทย กลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามอง

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ล่าสุดจัดงานสัมมนา Initiative Thought Leadership 2023 ในหัวข้อ “Growth Beyond Thai Audience” อัพเดทกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไทยที่น่าจับตามอง...

เตือนภัย! เรื่องแอบอ้างชื่อบริษัท

สืบเนื่องจากการแอบอ้างผ่านช่องทางออนไลน์อ้างอิงเกี่ยวกับ บริษัท โอไรอ้อน เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีบัญชีผู้ใช้ Tiktok ได้แอบอ้างชื่อหรือข้อมูลของบริษัทฯ...
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.