จ่ายแล้วไปไหน? เรื่องภาษีที่ต้องรู้ในยุค Digital

Share This Post

ในทุกวันนี้ธุรกิจต่างๆได้หันมาทำ Digital Marketing กันมากขึ้นและเป็นช่องทางที่สำคัญในการทำการตลาดสำหรับ ผู้ประกอบการหลายๆท่านไม่ว่าจะเป็นการทำ Facebook fan page ที่ต้องมีการ Boost Post หรือซื้อโฆษณากับทาง Facebook รวมไปถึงการทำ SEO และ SEM เพื่อโปรโมท Website กับ Google และช่องทางอื่นๆไม่ว่าจะเป็น YouTube หรือ Line

วันนี้เราจะมานำเสนอเรื่องราวที่ผู้ประกอบการทุกๆท่านต้องรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินในยุค Digital ไม่ว่าจะเป็นหลักในการจ่ายค่าบริการให้กับ Digital Platform ต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงข้อกฏหมายในเรื่องของการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยคุณ กัณทิมา เคอร์  รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน จาก IPG Mediabrands Thailand มาฝากทุกๆท่าน

กัณทิมา เคอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน
กัณทิมา เคอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน

1. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อโฆษณาบน Digital (ออนไลน์?) แตกต่างกับการซื้อสื่อโฆษณาแบบอื่นๆอย่างไร ในแง่ของเอกสารสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้หรือไม่?
ไม่ต่างเลยค่ะ ทั้ง 2 กรณีสามารถนำรายจ่ายมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้ ถ้าหากการจ่ายนั้น

  1. เป็นการจ่ายจริง
  2. เกี่ยวข้องกับกิจการ
  3. มีหลักฐานการจ่ายครบถ้วน

 โดยหากกิจการเป็นบุคคลธรรมดาและเลือกเสียภาษีแบบหัก “ค่าใช้จ่ายตามจริง” ก็ควรจะต้องมีหลักฐานการจ่ายที่ชัดเจน เช่น ระบุชื่อเราเป็นชื่อผู้ซื้อ ระบุว่าจ่ายเพื่องานอะไร (แนบชิ้นงานด้วยก็จะดีมาก) และจ่ายไปเท่าไรบ้าง  หรือในกรณีที่ใช้บัตรเครดิตของกรรมการหรือบัตรเครดิตส่วนตัวจ่ายไป ก็ให้ขอใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินในนามของบริษัท จึงจะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้

2. รายได้จากการขายของผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube , Line ต้องเสียภาษีหรือไม่ ?
ต้องเสียภาษีค่ะ หากเป็นบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่หากเป็นบริษัทก็จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้ หากกิจการเกิดค้าขายดี มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมยื่นชำระภาษีขายอีก 7% ด้วย

3. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อโฆษณา Google, Facebook มีประเด็นทางภาษีอย่างไรบ้าง ที่กิจการพึงต้องระวัง?

เรื่องนี้ มีภาษีที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล – ถ้ารายจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทสามารถถือเป็นรายจ่ายได้โดยไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฏากร
  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ระบุไว้ว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้” แต่เนื่องจากรายได้จากการให้บริการของ Google, Facebook นั้นถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ดังนั้นเมื่อบริษัทจ่ายเงินได้ให้กับนิติบุคคลตามกฏหมายต่างประเทศจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม – การให้บริการของ Google, Facebook เข้าข่ายเป็นการให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรไทยจึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดย”ผู้จ่าย” เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทน โดยให้นำส่งด้วยแบบ ภ.พ.36 ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าโฆษณาที่ได้จ่ายไป  โดยกิจการสามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อของธุรกิจได้ด้วย

IMG_8136

การทำ Digital Marketing กำลังเติบโตถึงขีดสุดแล้วนะครับแต่สิ่งหนึ่งที่เราจะลืมไม่ได้เลยคือการจัดการเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายภาษีให้ถูกต้องซึ่งเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเราศึกษาและทำให้ถูกต้องแล้วหล่ะก็จะช่วยให้เราทำธุรกรรมบนโลก Digital ได้อย่างสบายใจนะครับ

 

15731995_10154802680482207_2808887760603311513_o
Teeppipat Buamuenvai
Corporate Communications Manager
IPG Mediabrands Thailand

spot_img

Related Posts

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.