Thais media behavior trends 2018 (2)

0
8302

Generationsไหนควรสื่อสารอย่างไร?
การเลือกบริโภคสื่อที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละ Generations นั้น เราจะต้องผสมผสานช่องทางต่างๆให้เหมาะสมเนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลต่างๆมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น

คุณสันติ์ เดโชดมพันธ์ Managing Director จาก Initiative Thailand ได้บอกต่ออีกว่าจากการศึกษาพบว่า 46% ของผู้บริโภคนั้น ยอมรับว่าเทคโนโลยี และอินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งที่ทำเขาให้เลือกเปิดรับเนื้อหาต่างๆได้ด้วยตัวเอง และ ลืมสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วจากการได้รับสิ่งใหม่ๆอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคสามารถเลือกรับ เลือกอ่าน เลือกดูได้ตามความต้องการ และพร้อมที่จะเปลี่ยนได้ทันทีหากเนื้อหาไม่ถูกใจพวกเค้า

ปัจจัยที่มีผลนั้นรวมไปถึงบุคลิกภาพ ทัศนคติ และความสนใจที่แตกต่างกันของผู้บริโภคในแต่ละ Generations ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากต้องการสร้างเนื้อหาต่างๆที่จะสามารถเชื่อมโยงผู้บริโภคเข้ากับแบรนด์ได้

อะไรคืออาวุธที่สำคัญในการสื่อสาร?
ในปัจจุบัน Big Data นั้นมีส่วนช่วยนักการตลาดเป็นอย่างมากในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างแม่นยำโดยเฉพาะกับสื่อ Digital อีกสิ่งหนึ่งที่ Big Data จะสามารถช่วยนักการตลาดได้แต่ยังไม่เห็นใช้กันมากนักก็คือการใช้ Big Data เพื่อการสร้างสรรค์เนื้อหาที่เหมาะสมและสามารถสร้างความสนใจเพื่อให้เกิดการยอมรับจากผู้บริโภคที่มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละ Generations ด้วย

เนื้อหาแบบไหนถึงจะโดนใจ?
ในอดีตเราอาจจะสร้างเนื้อหาเพียงชุดเดียวแล้วสื่อสารออกไปในวงกว้างแต่ในปัจจุบันเราจำเป็นที่จะต้องสร้างเนื้อหาที่แตกต่างกันไปในแต่ละ Generations เช่น หากเราคิดจะขายสินค้าเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าผู้บริโภคในกลุ่ม Gen X และ Baby Boomer นั้นจะสนใจคุณประโยชน์ของตัวสินค้า ที่จะทำให้เขามีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น แต่ถ้าสินค้าเดียวกันนี้ เราต้องการขายให้กลุ่มคน Gen Y ซึ่งอาจจะสนใจที่คุณประโยชน์ด้านสุขภาพที่อิงไปในเรื่องความสวยงามและการรับข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ เป็นต้น ดังนั้น เนื้อหาที่ส่งออกไปหาผู้บริโภคในแต่ละ Generations ถึงแม้จะอยู่ใน core idea เดียวกันแต่ไม่ควรที่จะเป็นเนื้อหาเดียวกันหรือแม้แต่ใน Generation เดียวกันแต่ความสนใจอาจไม่เหมือนกัน

image1

Advance Data Analysis คืออะไร?
ในมุมการตลาดแบบ Advance Data Analysis นั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการทำธุรกิจแบบ B2C (Business to Consumer) โดยจะเป็นการทำแบบมีวงจรและใช้ประโยชน์จาก Data Analysis ให้มากขึ้น
โดย 4Ps และ 7Ps จะมีมิติและความชัดเจนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมในการที่จะออกสินค้าใหม่หรือรสชาติใหม่ เราจะมีการทำสัมภาษณ์เชิงลึก (Focus Group) หรือการทดสอบสินค้า (Product Testing) แต่ในปัจจุบันเราอาจมีการการหาความต้องการที่เป็นไปได้ของตลาด (Possibility Demand) และข้อมูลของกลุ่มผู้บริโภค(Big Data) มาประกอบด้วยได้

ซึ่งจะทำให้การนำเสนอด้านการส่งเสริมการตลาดให้กับผู้บริโภค จะมีความเป็นธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้สามารถเข้าหากลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่แตกต่างกันได้ เช่น ในกลุ่ม Gen X เราอาจจะนำเสนอในด้านของคุณค่าหรือคุณประโยชน์ แต่ในกลุ่ม Gen Z อาจจะต้องการความสวยงาม ความมีระดับหรือความหรูหรามากกว่า

คุณสันติ์ เดโชดมพันธ์ Managing Director จาก Initiative Thailand ได้บอกกับเราเป็นการปิดท้ายว่าในส่วนนี้เองจะเป็นการเชื่อมโยงเรื่อง Programmatic Optimization กับ Creative หรือ Content Optimization ที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า ในปัจจุบันนี้เราไม่เพียงแต่จะเข้าหาผู้บริโภคที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียวแต่เราต้องเชื่อมโยงเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคด้วยและยังย้ำสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือการใช้ Big Data ให้มี Dynamic ผสานกับการวางแผนสื่ออย่างมีประสิทธิภาพ โดย Take Initiative in Culture เพื่อผสมผสานความน่าสนใจของเนื้อหา และ ร้อยเรียงแผนงานอย่างไร้รอยต่อ

ติดตามพฤติกรรมของคนไทยกับการใช้สื่อตอนที่ 1 ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
http://www.thansettakij.com/content/251064