จะจับสิงโตที่คานส์ต้องใช้อะไรบ้าง?

Share This Post

คุณบุ้ง ธราภุช จารุวัฒนะ Group CEO ของ IPG Mediabrands Thailand ได้รับเกียรติจาก BRAND BUFFET.IN.TH เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในงานเสวนาประจำปี BRAND TALK ครั้งที่ 12 Cannes Lions Insider 2017 ชำแหละสิงโตคานส์ ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินงานโฆษณาระดับโลกคานส์ไลออน 2017

โดยคุณบุ้งได้เข้าร่วมสนทนาในไฮไลท์สำคัญในช่วงแรก Cannes Lions Insider 2017 ชำแหละสิงโตคานส์ จากกรรมการไทย ร่วมกับคุณชนัษฐพล เธียรศรี ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ TBWA \ Thailand และคุณ กิตติ ไชยพร ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟไดเรคเตอร์ ชูใจ กะ กัลยาณมิตร

โดยในการพูดคุยได้มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการตัดสินมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของจำนวนผลงานที่ส่งเข้ามาประกวดในปีนี้ซึ่งมีมากกว่า สี่หมื่นนึงพันผลงาน ขั้นตอนการตัดสินของคณะกรรมการ เกณฑ์การให้คะแนน และมีการพูดคุยถึงทิศทางของงานโฆษณาของไทยและในระดับโลกว่าจะไปในทิศทางไหน

เหล่าวิทยากรได้มีการเปิดเผยว่า เนื่องจากในปีนี้มีผลงานส่งเข้ามาในแต่ละหมวดหมู่จำนวนเยอะมากทำให้ต้องมีการตัดสิน Online กันก่อนที่จะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศษ ซึ่งกรรมการจะสามารถเห็นผลงานได้เฉพาะในหมวดหมู่ที่ตนเองได้รับเลือกให้ตัดสินเท่านั้น และไม่สามารถให้คะแนนกับผลงานกับผลงานจากต้นสังกัดของตัวเองได้

เทรนด์การให้คะแนนจากคณะกรรมการในปีนี้ คุณบุ้ง ได้ให้ข้อมูลเสริมว่า

จะเห็นจากผลงานที่ได้รางวัลต่างๆซึ่งส่วนมากจะมีการใช้ Data-Driven บวกกับความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับประสบการณ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ่งมากขึ้นและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคมได้อย่างแท้จริง

คุณบุ้ง ธราภุช จารุวัฒนะ Group CEO ของ IPG Mediabrands Thailand
คุณบุ้ง ธราภุช จารุวัฒนะ Group CEO ของ IPG Mediabrands Thailand’

คุณบุ้งยังได้กล่าวเสริมถึงประสบการณ์เกี่ยวกับเทศกาลนี้อีกว่า ในปีแรกที่ได้มาเค้ามาในฐานะของผู้สังเกตุการณ์และในปีต่อมาก็เข้าร่วมในฐานะผู้ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดและล่าสุดกับการได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ คุณบุ้งสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างโดยเฉพาะการเติบโตของผลงานจากประเทศจีนที่มากขึ้นถึงขนาดมีการจัด China Night กันเลยทีเดียว

ในการสนทนายังได้มีการพูดถึงผลงานจาก McCann New York ที่มีชื่อว่า “Fearless Girl” ซึ่งกวาดรางวัลระดับ Grand Prix ถึง 4 รางวัล ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เรียบง่ายแต่สื่อความหมายได้อย่างลึกซึ่งในหลายๆบริบทโดยเฉพาะการท้าทายอำนาจของผู้ชายโดยมีวัวกระทิงเป็นสัญลักษณ์ และสะท้อนสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางเพศที่อยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน และ “Fearless Girl” ก็น่าจะเป็นหนึ่งในผลงานที่สามารถเป็นตัวอย่างให้กับการคิดงานชิ้นใหม่ๆได้ในอนาคต

DSC01983

ในการสนทนาได้มีการพูดถึงผลงานจากเมืองไทยว่าในแต่ละปีมีการส่งผลงานเข้าร่วมจำนวนน้อยชิ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งผลงานจากประเทศใหญ่ๆแต่กลับกันในทุกๆปีผลงานจากประเทศไทยสามารถสร้างชื่อเสียงและคว้ารางวัลมาได้โดยตลอดซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยสิ่งที่เหล่าวิทยากรทุกๆท่านอยากฝากให้ได้คิดกันต่อก็คือ การเปิดใจให้กว้างและเสพผลงานของคนอื่นเยอะๆ การเลือกหมวดหมู่ที่เราจะส่งอย่างตั้งใจและมีความพร้อม และสุดท้ายคือการลงมือทำงานให้เต็มที่กับทุกชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายแค่สามอย่างนี้ผลงานจากประเทศไทยก็มีสิทธิ์ที่จะจับสิงโตจากเมืองคานส์ได้ไม่ยาก

DSC01993

 

spot_img

Related Posts

รีไพร์ส ประเทศไทย ผลักดันความแข็งแกร่งการศึกษาไทยด้าน Digital Marketing

ล่าสุด คุณศุภฤกษ์ ตั้งเจริญศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รีไพร์ส ประเทศไทย (Reprise Thailand)...

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป พร้อมกลยุทธ์เข้าถึงใจ GEN Y ในวันนี้

  ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในช่วง GEN Y (พ.ศ. 2523 – 2543) โดยอายุอยู่ที่ประมาณ 25...

UM Thailand ต่อยอดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ‘UM Impact Day’ ปีที่ 6

กรุงเทพฯ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 –  UM Thailand ล่าสุดจัดกิจกรรมด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมประจำปีผ่านการรวบรวมขยะพลาสติกมาสร้างประโยชน์เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่สำนักงานพร้อมบริจาคทุนสนับสนุน บนความร่วมมือกับ Precious...

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ชี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนในไทย กลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามอง

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ล่าสุดจัดงานสัมมนา Initiative Thought Leadership 2023 ในหัวข้อ “Growth Beyond Thai Audience” อัพเดทกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไทยที่น่าจับตามอง...

เตือนภัย! เรื่องแอบอ้างชื่อบริษัท

สืบเนื่องจากการแอบอ้างผ่านช่องทางออนไลน์อ้างอิงเกี่ยวกับ บริษัท โอไรอ้อน เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีบัญชีผู้ใช้ Tiktok ได้แอบอ้างชื่อหรือข้อมูลของบริษัทฯ...