Tag: WorkLifeBalance

spot_img

ถ้าไม่พูดคำว่าเหนื่อย…จะพูดคำว่าอะไรดี?

น้องคนนึงที่ทำงานโพสต์ถามใน FB เป็นคำถามชวนคิดที่เกิดขึ้นจริงที่พวกเรารับรู้ได้จากการ WFH มานาน จากงานวิจัยพบว่าผลเสียของการ WFH ทางด้านจิตใจทำให้พนักงานรู้สึกโดดเดี่ยว (isolated) ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัว สุดท้ายคือ Burnout ที่เรามักจะได้ยินบ่อยที่สุด จริง ๆ แล้วสภาพเหนื่อย เครียด หรือ Burnout มันคืออะไรกันแน่ และเราอยู่จุดไหนกันแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่เราควรรับรู้เพราะ Self-awareness เป็นเหมือนกุญแจสำหรับการหาวิธีรับมือได้ถูกต้อง วันนี้เลยไป...

ประสิทธิภาพการนอน ประสิทธิผลของงาน

คนแซวบ่อย ๆ ว่าถ้าส่งไลน์ ส่งเมลมาหลังสามทุ่มจะไม่มีสัญญาณตอบกลับจากเรา หลายคนถามว่าเรานอนเร็วขนาดนี้ได้อย่างไร คำตอบนั้นพักไว้ก่อน แต่เราอยากจะบอกว่าทำไมทุกคนควรนอนเร็วมากกว่า หลากหลายงานวิจัยแสดงคำตอบไปในทางเดียวกันว่า มนุษย์งานที่นอนไม่เต็มอิ่มจะมีอารมณ์หงุดหงิดมากกว่าคนที่นอนเต็มอิ่ม ซึ่งระยะเวลาในการนอนเต็มอิ่มนั้น อาจแตกต่างไปในแต่ละคน แต่ผลวิจัยบอกว่า คนวัยทำงาน (26-64 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน การนอนไม่พอทำให้ประสิทธิภาพของสมองสั่งงานได้ถดถอย ความสามารถในการผลิต (Productivity) น้อยลง รวมทั้งความพอใจในเนื้องานที่ตัวเองทำออกมาก็จะลดลงเช่นกัน คนที่นอนไม่พอมีอัตราการขาดงานเฉลี่ยมากกว่าคนอื่น และคนที่นอนน้อยมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานมากกว่าคนอื่นด้วย อย่างไรก็ตามไม่ใช่แค่เรื่องงานเท่านั้น...

Strategy Hour สละเวลาเพียงวันละชั่วโมง เพื่อจะได้เวลาอันมีประสิทธิภาพเพิ่มอีกวันละชั่วโมง

เดวิส ร้อค ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Your Brain at Work กล่าวว่า เราสามารถโฟกัสกับงานโดยเฉลี่ยแล้วเพียงวันละ 6 ชั่วโมงเท่านั้น นั่นหมายความว่าหากเราทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เราจะมี 2 ชั่วโมงที่ทำให้เราเสียเวลาไปเปล่า ๆ โดยไม่ได้ผลลัพธ์มากนัก เราสามารถนำ  2 ชั่วโมงนั้นมาทำสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์มากกว่านั่งเช็กกล่องข้อความทางอีเมล หรือข้อความทางแอปพลิเคชันไลน์จนถึงเวลาเลิกงาน ปัญหาที่เราพบคือ การนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือประชุมแบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จะทำให้สูญเสียพลังงาน โดยเรามักจะพูดกับตัวเองว่า “วันนี้เรายุ่งมากเลย แต่เรายังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักที”...

”ความสุข” แพร่ได้เหมือน “ไวรัส”

จะเป็นอย่างไรหากวันนึงเราตื่นขึ้นมาแล้วปรากฎว่ามีไวรัสตัวใหม่ชื่อ "ความสุข" กำลังระบาดในประเทศไทย ทำให้คนที่อยู่ใกล้กับบุคคลที่มีเชื้อไวรัสความสุขนั้น มีความสุขไปด้วย แล้วเจ้าเชื้อไวรัสนี้ก็สามารถแพร่ระจายไปสู่บุคคลอื่น โดยไม่ต้องสัมผัสกันด้วยซ้ำ หลายคนพออ่านถึงตรงนี้ก็คงคิดว่า ถ้ามีเจ้าเชื้อนี้ก็ดีใช่ไหมล่ะ ถ้าความสุขเกิดขึ้นและติดต่อกันง่ายเช่นนั้น ทุกคนในประเทศไทยคงมีความสุขกันทั่วหน้า และทุกคนบนโลกก็คงยิ้มและครึกครื้นทั้งวันเป็นแน่ ถ้าหากมีเชื้อไวรัสความสุขนี้จริง! แต่อย่าเพิ่งดับฝันตัวเองไป เพราะสิ่งที่ผู้เขียนกำลังจะนำมาพูดถึงคือ มุมมองที่ผู้เขียนมีต่อ "ความสุข" ในเชิงจิตวิทยาว่า ความสุขนั้นก็สามารถแพร่ได้เหมือนกับไวรัส COVID-19 ที่เรารู้จักกัน ถ้าให้เทียบก็คงเป็นเหมือนโลกคู่ขนานทางจิตใจ ที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับโรคทางกาย เพียงแต่เราอาจไม่เคยนึกถึง นักจิตวิทยามีมุมมองเรื่องความสุขว่า...