หน้าแรกBrand Strategyแบรนด์กับการเข้าถึงผู้มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ตลาดและภาพลักษณ์ที่ไม่ควรมองข้าม

แบรนด์กับการเข้าถึงผู้มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ตลาดและภาพลักษณ์ที่ไม่ควรมองข้าม

คุณทราบหรือไม่ว่า มีผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว คิดเป็น 15% ของประชากรทั้งหมดบนโลก ซึ่งผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวเหล่านี้ มีความต้องการบริโภคสื่อและเนื้อหาหลากหลาย แต่พวกเขากลับไม่สามารถ หรือไม่สะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาจากสื่อบางประเภทได้ MAGNA หน่วยงานซื้อสื่อโฆษณา และที่ปรึกษาด้านการลงทุนและนวัตกรรม ร่วมกับ IPG Media Lab ฝ่ายงานวิจัยและผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทรนด์ในอุตสาหกรรมสื่อ ภายใต้ IPG Mediabrands ทำการศึกษาเรื่อง การเข้าถึงโลกดิจิทัล: ความต้องการของทุกคน “: The Necessity of Inclusion,” ซึ่งได้ข้อสรุปว่า แบรนด์ส่วนใหญ่ต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนการสื่อสารที่ครอบคลุมบุคคลทุกประเภท รวมทั้งผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวด้วย พวกเขาจะต้องไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรือแค่พูดว่า ถ้าแบรนด์เรา เข้าถึงพวกเขาได้ ก็เป็นเรื่องดี”

จากการสำรวจและวิจัยพบว่า กลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว มีกำลังซื้อรวมกันทั่วโลกมากถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ดูเหมือนพวกเขากลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงเนื้อหา ผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ มาดูสถิติของกลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว

  • มีผู้บกพร่องทางการมองเห็น 285 ล้านคน โดยแบ่งเป็น ผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นถาวร 39 ล้านคน โดยผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นถาวร ซึ่งมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป คิดเป็น 82% ของผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นถาวรทั้งหมด
  • มีผู้บกพร่องทางการได้ยิน 466 ล้านคน โดยคาดว่าภายในปี 2050 จะมีผู้บกพร่องทางการได้ยินมากกว่า 900 ล้านคน
  • เราจะพบผู้ที่มีสภาวะบกพร่องทางสติปัญญา 1 – 3% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยสภาวะบกพร่องทางสติปัญญามักพบได้บ่อยในประเทศที่มีรายได้ต่ำ โดยจะพบสภาวะนี้ใน 16 คนจาก 1,000 คน
  • และมีประมาณ 5 ล้านคน ที่มีความบกพร่องทางการพูด การออกเสียง และภาษา

1

จากการสำรวจพบว่า กลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวบริโภคเนื้อหาทุกประเภท ผ่านสื่อทุกรูปแบบเป็นประจำต่อสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น โดยพวกเขาเลือกเข้าถึงสื่อที่ใช้การมองเห็นประมาณ 98% แบ่งออกเป็น โซเชียลมีเดีย 89%, รายการโทรทัศน์ 86% และคลิปวิดีโอสั้น 80% แม้โซเชียลมีเดียจะเป็นแพลตฟอร์มที่กลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวใช้งานมากที่สุด แต่พวกเขาให้ความคิดเห็นว่า เมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ แล้ว โซเชียลมีเดีย เป็นสื่อที่ใช้งานยากที่สุด เนื่องจากตัวอักษรเล็กเกินไป ปุ่มแสดงเนื้อหาและค่าต่าง ๆ บนหน้าจอชวนสับสน โฆษณาที่ชอบขึ้นมารบกวนขณะอ่านเนื้อหา และปุ่มหน้าจอ แสดงเมนูตัวเลือกเข้าใจยาก โดยผลสำรวจพบว่า โซเซียลมีเดีย ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการพูดมากที่สุด 27%, รองลงมาเป็น ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 23%, ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 22% และผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 17%

นอกจากเรื่องประเภทของสื่อแล้ว อุปกรณ์ดิจิทัลที่ควรจะอำนวยความสะดวก กลับไม่ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวเท่าใดนัก 54% จากกลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวที่ทีมได้สำรวจบอกว่า พวกเขาใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านี้เพื่อช่วยเรื่องการอ่าน การมองเห็น และการฟังเนื้อหา แต่ 64% ของกลุ่มสำรวจนี้บอกว่า พวกเขามีปัญหาในการเข้าถึงเนื้อหาข่าวสาร และ 34% ของกลุ่มสำรวจระบุว่า อุปกรณ์ดิจิทัลนี่ล่ะ คือตัวปัญหา ที่ทำให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลข่าวสารลำบาก สุดท้าย 56% ของกลุ่มสำรวจบอกว่า พวกเขาซึ่งเป็นผู้ชม (Audience) คนนึง ต้องการอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเหมือนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งอุปกรณ์ที่พวกเขาคิดว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้พวกเขานั้น ก็มีอยู่ แต่มีราคาแพงกว่าอุปกรณ์ดิจิทัลทั่วไป

2

ความไม่สะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาข้อมูลข่าวสารกลายเป็นเรื่องปกติ ที่ไม่ควรปกติ สำหรับผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว มองผ่าน ๆ 40% ของบุคคลธรรมดาที่ได้รับการสำรวจบอกว่า แบรนด์ต่าง ๆ ส่งเสริมการเข้าถึงเนื้อหา ข้อมูลข่าวสารให้กับผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวดีอยู่แล้ว แต่จริง ๆ กลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างไรก็ตามตัวผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวเองก็ไม่รู้ว่าแบรนด์ หรือบริษัทควรจะปรับเปลี่ยนอย่างไรเช่นกัน ซึ่งการที่ผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวไม่ได้รับการเข้าถึงสื่อ หรือเนื้อหาข่าวสาร อาจส่งผลลบต่ออารมณ์ความรู้สึก เหมือนพวกเขาโดนทอดทิ้ง และนั่นเป็นผลสะท้อนกลับต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์เองด้วย โดย 60% ของผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวจะรู้สึกดีต่อแบรนด์ หากแบรนด์มีแคมเปญ หรือกิจกรรมที่แสดงให้เห็นว่า แบรนด์มองพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง และ 81% ของกลุ่มคนเหล่านี้จะมีความรู้สึกดีต่อแบรนด์และผูกพันจนกลายเป็น ลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ในอนาคต (Brand loyalty)

MAGNA และ IPG Media Lab ลงความคิดเห็นว่า การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหา ข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวเป็นเรื่องสำคัญ แบรนด์ต้องเริ่มสื่อสารไปถึงพวกเขา สร้างความเชื่อมั่นให้แก่พวกเขา เพราะกลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวนี้ เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสำคัญ และมีกำลังซื้อ อีกทั้งพวกเขายังบริโภคเนื้อหา ข้อมูลข่าวสารเป็นประจำ โดยสิ่งที่แบรนด์เริ่มทำได้อันดับแรก คือ การทำอุปกรณ์สื่อดิจิทัลที่มีราคาพอควร มีประสิทธิภาพ ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลเหล่านี้ เพื่อให้พวกเขาและเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ด้วยกัน…อย่างแท้จริง


 เกี่ยวกับ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส

ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส  (IPG Mediabrands) คือองค์กรระดับโลกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารและการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในเครือ Interpublic Group (NYSE: IPG) เราบริหารและดูแลการลงทุนทางด้านการสื่อสารการตลาดให้กับลูกค้าที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐใน 130 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารรวมตัวกันมากกว่า 10,000 คน

เกี่ยวกับ แม็กนา

แม็กนา เป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งภายใต้ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส (IPG Mediabrands) สำหรับแม็กนา ประเทศไทย นำทีมโดยคุณกนกวรรณ คุณาเรืองโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายซื้อสื่อโฆษณา และทีมงานที่มาพร้อมประสบการณ์ในแวดวงมีเดีย เอเจนซี่กว่า 16 ปี โดยทำให้กับทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ระดับโลกในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การเงินและการธนาคาร รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ด้วยความเชี่ยวชาญในการใช้กลยุทธ์การเลือกสื่อ แม็กนา ประเทศไทย ได้ร่วมสร้างความสำเร็จ ให้หลากหลายแบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคด้วยสื่อต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments